ความหมาย ความสำคัญ เเละประเภทของวัฒธรรมไทย

ความหมาย ความสำคัญและประเภทของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย ดังนี้
       1.สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมไทย,วัฒนธรรมในการแต่งกาย เป็นต้น
       2.วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน,วัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น
       วัฒนธรรม เป็นแบบแผนที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมพื้นฐานและความจำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ขอบข่ายของวัฒนธรรมแสดงถึงขีดความสามารถของมนุษย์ในการศึกษาเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆสำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และทางใจ เช่น ศาสนา ประเพณี ความเชื่อต่างๆ เป็นต้น
 ความสำคัญของวัฒนธรรม
             วัฒนธรรมทำให้คนในสังคมสามารถบ่งชี้สภาพแบบแผนการดำเนินชีวิต และยังทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มนุษย์ใช้วัฒนธรรมในการตอบสนองความต้องการของชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสังคมแต่ละแห่ง วัฒนธรรมจึงสามารถเป็นตัวก่อให้เกิดความสมานฉันท์ ที่เกิดจากความภูมิใจและการสะท้อนตัวตนของความเป็นคนในสังคมได้
             วัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
        1.วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมด้านสิ่งประดิษฐ์ที่มองเห็นและสัมผัสได้ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือน เป็นต้น


ตัวอย่างภาพวัตถุธรรม
        2.คติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิต ซึ่งจะได้มาจากหลักธรรมทางศาสนา

ตัวอย่างภาพคติธรรม
        3.เนติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางกฎหมาย เพื่อการบังคับและควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ


ตัวอย่างภาพเนติธรรม
        4.สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปลอดภัย รวมทั้งระเบียบมารยาทที่ใช้ติดต่อภายในสังคม เช่น การไหว้ การแต่งกาย เป็นต้น

ตัวอย่างภาพสหธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น